ทุ่งทานทานตะวัน

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

“การอบรมผู้ปฎิบัติการฉุกเฉินครั้งนี้มี สืบเนื่องจากพื้นที่อุทยานซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวนมาก โดยในพื้นที่จ.เลย เฉพาะที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีนักท่องเที่ยวกว่า  65,740 คนต่อปี อุทยานภูเรือ 15,693คนต่อปี อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย 17,033 คนต่อปี และอุทยานแห่งชาติภูหลวง 9514 คนต่อปี  จึงทำให้โอกาสเกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย ในขณะที่ในพื้นที่เอง มีชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) เพียง 123 ชุด และชุดปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS)15 ชุด ซึ่งทำให้การช่วยเหลืออาจไม่ทันต่อสถานการณ์” นพ.ชาตรีกล่าว

วัน ที่ 21 ธันวาคม 2554 ที่หอประชุมกองทัพเรือ นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เข้ารับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน รางวัลดีเด่น ประเภทรางวัลนวัตกรรมการให้บริการ “1669 เครือข่ายการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน” จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งได้จัดให้มีการติดตามประเมินผลเพื่อมอบรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เป็นประจำทุกปี โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีและมอบรางวัล


สพฉ. เตือน ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ควรอพยพไปในพื้นที่ปลอดภัย ย้ำมีโอกาสรอดแต่ต้องรับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง

 ในภาวะน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ นอกจากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ประสบภัยจะลืมไม่ได้ ก็คือโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่จำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมอย่างรอบคอบ อาทิ ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน (STROKE) โดยโรคนี้ถือว่าเป็นโรคที่อันตราย และเป็นโรคที่คนไทยเสียชีวิตในลำดับต้นๆ  คือ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้หญิง และเป็นอันดับสามในผู้ชาย  ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหรือทันกาล แม้จะไม่เสียชีวิต แต่ส่วนใหญ่ก็มักเกิดความพิการ